บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หลักการทำข้อสอบ



หลักทั่วไป
1) อ่านโจทย์
2) อ่านตัวเลือกของคำตอบ
สำหรับผมเอง เป็นความสามารถเฉพาะตัว เนื่องจากอ่านหนังสือได้เร็วมาก ผมจึงมักจะอ่านตัวเลือกที่เป็นคำตอบก่อน แล้วจึงไปอ่านโจทย์
การทำแบบนี้ทำให้สามารถลดเวลาในการทำข้อสอบได้มาก
3) หาข้อผิด 3 ข้อ
4) กาข้อที่ถูกต้อง

หลักการทำข้อสอบบทความยาว
1) อ่านโจทย์และตัวเลือกก่อน
2) อ่านย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย ถ้าพบคำตอบให้ตอบได้เลย
3) อ่านบทความที่เหลือทั้งหมด
4) ควรใช้เครื่องหมายต่างๆ เพื่อหาคำตอบ ไม่ควรอ่านโดยไม่ขีดเขียนใดๆ ลงไปในกระดาษคำถาม

ตัวอย่างที่ 1
แขวงคือชื่อของระดับการปกครองของรัฐ ในพื้นที่หายแห่งของประเทศไทยในอดีตมีฐานะเทียบเท่ากับอำเภอ แต่ในปัจจุบันมีที่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น ในเขตกรุงเทพมหานคร “แขวง” จะอยู่ในระดับเดียวกับตำบลของจังหวัดอื่นๆ คือ เป็นเขตการปกครองในระดับที่ 3 รองลงมาจากเขต (พอจะเทียบได้กับอำเภอ) และจังหวัด เนื่องจากแขวงเหล่านี้ เกือบทั้งหมดได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากตำบลที่มีอยู่เดิมในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรีนั่นเอง ดังนั้น บางครั้งจึงเกิดความสับสนในการใช้คำว่า แขวง และตำบลในความหมายดังกล่าว
แต่เดิมนั้น ในพื้นที่เขตรอบนอกของกรุงเทพมหานครที่ไม่ได้อยู่ในเขตเทศบาลกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี (ซึ่งตำแหน่งกำนันจะถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติเทศบาล) มาก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองนครหลวงเป็นกรุงเทพมหานคร จะมีกำนันแขวงเป็นหัวหน้าดูแล แต่ละแขวงในลักษณะเดียวกันกับกำนันตำบลของจังหวัดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศยกเลิกตำแหน่งกำนัน รวมทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันทั้งหมดในพื้นที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แล้ว
นอกจากนี้ ในเขตเทศบาลนครบางแห่ง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่และเทศบาลนครนนทบุรี ซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันแล้วเช่นกัน ก็มีการแบ่งหน่วยการบริหารออกเป็น “แขวง” แต่อยู่ในระดับที่สูงกว่าตำบล เนื่องจากประกอบด้วยพื้นที่ของตำบลต่างๆ ในเขตเทศบาลแห่งนั้นรวมกัน โดยพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานแขวงแต่ละแห่ง ไม่จำเป็นต้องอิงกับเขตของตำบล ดังนั้น แขวงเหล่านั้น จึงไม่ได้แทนที่ตำบลอย่างสมบูรณ์เหมือนกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ แต่ละแขวงจะมีหัวหน้าแขวงประจำสำนักงานแขวงเป็นผู้ดูแล

ข้อที่ 1 แขวงของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงมาจากข้อใด
ก. จังหวัด
ข. อำเภอ
ค. ตำบล
ง. หมู่บ้าน

วิเคราะห์
คำถามและคำตอบของข้อนี้ อยู่ในย่อหน้าแรก ดังนี้
แขวงคือชื่อของระดับการปกครองของรัฐ ในพื้นที่หายแห่งของประเทศไทยในอดีตมีฐานะเทียบเท่ากับอำเภอ แต่ในปัจจุบันมีที่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น ในเขตกรุงเทพมหานคร “แขวง” จะอยู่ในระดับเดียวกับตำบลของจังหวัดอื่นๆ คือ เป็นเขตการปกครองในระดับที่ 3 รองลงมาจากเขต (พอจะเทียบได้กับอำเภอ) และจังหวัด เนื่องจากแขวงเหล่านี้ เกือบทั้งหมดได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากตำบลที่มีอยู่เดิมในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรีนั่นเอง ดังนั้น บางครั้งจึงเกิดความสับสนในการใช้คำว่า แขวง และตำบลในความหมายดังกล่าว
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้ คือ ข้อ ค.

ข้อที่ 2 แขวงในอดีตมีฐานะเทียบเท่ากับข้อใด
ก. จังหวัด
ข. อำเภอ
ค. ตำบล
ง. หมู่บ้าน

วิเคราะห์
คำถามและคำตอบของข้อนี้ อยู่ในย่อหน้าแรก และเป็นข้อความแรกเลย ดังนี้
แขวงคือชื่อของระดับการปกครองของรัฐ ในพื้นที่หายแห่งของประเทศไทยในอดีตมีฐานะเทียบเท่ากับอำเภอ แต่ในปัจจุบันมีที่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น ในเขตกรุงเทพมหานคร “แขวง” จะอยู่ในระดับเดียวกับตำบลของจังหวัดอื่นๆ คือ เป็นเขตการปกครองในระดับที่ 3 รองลงมาจากเขต (พอจะเทียบได้กับอำเภอ) และจังหวัด เนื่องจากแขวงเหล่านี้ เกือบทั้งหมดได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากตำบลที่มีอยู่เดิมในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรีนั่นเอง ดังนั้น บางครั้งจึงเกิดความสับสนในการใช้คำว่า แขวง และตำบลในความหมายดังกล่าว
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้ คือ ข้อ ข.

ข้อที่ 3 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก. ปัจจุบัน พื้นที่ใกล้กรุงเทพมหานครไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแล้ว
ข. กรุงเทพมหานครออกประกาศได้ยกเลิกกำนัก ผู้ใหญ่บ้านแต่ไม่ได้ยกเลิกตำแหน่งสารวัตรกำนัน
ค. นอกจากกรุงเทพแล้ว บางจังหวัดก็ได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นแขวงเช่นเดียวกัน
ง. ปี พ.ศ. 2547 ทำให้มีการยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ

วิเคราะห์
คำถามและคำตอบของข้อนี้ อยู่ในย่อหน้าที่สอง ดังนี้
แต่เดิมนั้น ในพื้นที่เขตรอบนอกของกรุงเทพมหานครที่ไม่ได้อยู่ในเขตเทศบาลกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี (ซึ่งตำแหน่งกำนันจะถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติเทศบาล) มาก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองนครหลวงเป็นกรุงเทพมหานคร จะมีกำนันแขวงเป็นหัวหน้าดูแล แต่ละแขวงในลักษณะเดียวกันกับกำนันตำบลของจังหวัดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศยกเลิกตำแหน่งกำนัน รวมทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันทั้งหมดในพื้นที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แล้ว
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้ คือ ข้อ ก.
ข. กรุงเทพมหานครออกประกาศได้ยกเลิกกำนัก ผู้ใหญ่บ้านแต่ไม่ได้ยกเลิกตำแหน่งสารวัตรกำนัน
ผิด เพราะ สารวัตรกำนันก็ถูกยกเลิกด้วย

ค. นอกจากกรุงเทพแล้ว บางจังหวัดก็ได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นแขวงเช่นเดียวกัน
ผิด เพราะ ไม่มีจังหวัดใดที่แบ่งการปกครองออกเป็นแขวง ที่มีคือ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น

ง. ปี พ.ศ. 2547 ทำให้มีการยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ
ผิด เพราะ มีการยกเลิกเฉพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น